วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การรักษาความสะอาดกระเบื้องยาง

กระเบื้องยาง

การทำความสะอาดประจำวันให้ใช้ผ้าชุฐน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่บิดให้หมาด ๆ เช็ดถูตาม ธรรมดา และควรใช้แว๊กซ์ชนิดน้ำ "ไดโนแว๊กซ์" ลงทุก ๆ ครึ่งเดือน จะช่วยรักษาพื้นให้ คงทน ดูสวยเป็นเงามันและรักษาความสะอาดได้ง่าย ถ้าเป็นพื้นที่มีสภาพเก่าและสกปรก มาก ควรล้างด้วยน้ำยาล้างพื้น "ไดโนคลีน" เสียก่อนแล้วจึงใช้ "ไดโนแว๊กซ์" ลงซ้ำอีก
1 – 2 ครั้งกระเบื้องยาง "ไดโนเฟล็กซ์" ได้เคลือบน้ำยาและขัดเงาไว้แล้วระหว่างการผลิต ดังนั้นหากลงแว๊กซ์จะทำให้ไม่ติดผิวกระเบื้องยาใหม่ในตอนแรก

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

The Star of Africa (Cullinan 1) Diamond


พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งอังกฤษ ได้รับมอบเพชรนี้ เมื่อค.ศ. 1907 จากนั้น Joseph Asscher & Company ที่อัมสเตอร์ดัม ใช้เวลาถึง 6 เดือนในการตัดสินใจ ที่จะแบ่งมันออกมาเจียระไน และได้แบ่งออกเป็นเพชรเม็ดใหญ่ 9 เม็ด เพชรเม็ดเล็ก และเพชรขนาด 9.5 กะรัต อีกรวม 96 เม็ด มีเม็ดที่สำคัญ 2 เม็ด ที่นำไปประดับที่พระคทาของกษัตริย์อังกฤษ

เพชรเม็ดใหญ่ที่สุดคือ Cullinan 1 ขนาด 530 กะรัต ถูกเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำ ชื่อ "Star of Africa" และเพชรขนาด 317 กะรัต ชื่อ "Lesser Star of Africa" ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พระคลังเครื่องเพชรของพระราชวงศ์อังกฤษที่หอคอยแห่งกรุงลอนดอน

โดย แหวนเพชร

KOH-I-NOOR "Mountain of Light"

เพชรที่โด่งดังที่สุดเม็ดนี้ มีประวัติอันยาวนานย้อนหลังไปถึงปี ค.ศ.1304 มีขนาดไม่ใหญ่โตมาก เพียง 186 กะรัต มีรูปทรง oval cut มีตำนานเล่าว่าเพชรนี้ถูกพบในแม่น้ำโกทาวรี (Godavari) ในอินเดียตอนกลางเมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว และราชากานาแห่งอังกา (Gana Rajah of Anga) เป็นผู้สวมใส่



แต่ราชาผู้น่าสงสาร ก็ตกเป็นเหยื่อรายแรกของเพชรเม็ดนี้ ซึ่งมีคำสาปที่น่าสะพรึงกลัวว่า "ผู้ใดครองเพชรเม็ดนี้จักได้ครองโลก หากแต่จักพบพานความโชคร้ายต่างๆ ของมันด้วย จะมีก็แต่พระเจ้าหรือผู้หญิง ที่สามารถสวมใส่ได้โดยที่จะไม่ถูกลงโทษ ” ในขณะที่ราชากานา กำลังขี่ม้าเข้าสู่สนามรบพร้อมกับเพชรเม็ดนี้ ราชาก็ถูกฆ่าตายในสนามรบ อย่างไรก็ตาม บันทึกอ้างอิงฉบับแรกๆที่ค่อนข้างเชื่อถือได้ เกี่ยวกับเพชรเม็ดนี้ เริ่มต้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ว่า พบเพชรเม็ดนี้ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย บริเวณริมแม่น้ำโกทาวรี ราว ค.ศ. 1304 โดยชาวนาคนหนึ่งพบวัตถุเป็นมันวาวชิ้นหนึ่งในดินโคลน หลังจากคืนฝนตก และเพชรซึ่งสวยงามมากเป็นพิเศษเม็ดนี้ ก็ได้กลายเป็นที่รู้จักในอินเดีย และถูกนำไปประดับบนมงกุฎของมหาราชาแห่งกอลคอนดา ภายหลังเพชรเม็ดนี้ตกเป็นสมบัติของ Sultan Babur แห่งราชวงศ์โมกุลผู้ยิ่งใหญ่ ในศตวรรษที่ 16 และตกทอดไปสู่กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์


ครั้งหนึ่ง เพชรโก อิ นัวร์ เคยตกเป็นของโมฮัมเหม็ด ชาร์ (Mohammed Shah) และตกทอดสู่นาดีร์ ชาห์ (Nadir Shah) ซึ่งได้อุทานออกมาว่า "โก อิ นัวร์" ซึ่งหมายความว่า "ภูเขาแห่งแสงสว่าง" ระหว่างที่เขาได้เห็นเพชรอันวิจิตรงดงาม ที่เขาได้แย่งชิงมาจากโมฮัมเหม็ด ชาห์ ใน ค.ศ. 1739 เพชรเม็ดนี้ อาจจะเคยประดับอยู่บนบัลลังก์นกยูงของ Shah Jehan อีกด้วย หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิเปอร์เซีย เพชร KOH-I-NOOR ก็ได้เวลาเดินทางอีกครั้ง ไปยังอินเดีย ผ่านอัฟกานิสถาน โดยผู้คุ้มกันของ Nadir Shah ที่หนีมาในขณะที่ Nadir Shah ถูกฆาตกรรม และได้มาใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนแก่ Ranjit Singh แห่ง Punjab ในการแลกเปลี่ยนกับการช่วยเหลือทางทหาร (ซึ่งก็ไม่เคยเกิดขึ้น) เพื่อต่อสู้กับอังกฤษ และถูก East India Company เรียกร้องมันมาเป็นค่าชดเชยค่าเสียหาย ต่อมา East India Company ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพชรนี้ แด่ราชินีวิคตอเรีย ในปีค.ศ.1850 ขณะนั้นเพชรสามารถประเมินค่าได้เป็นราคา 700,000 ดอลลาร์สหรัฐ

พระราชินีวิกตอเรีย ทรงตัดสินพระทัยที่จะให้นักเจียระไนเพชรชื่อ วัวร์ซานเจอร์ (Voorzanger) เจียระไนเพชรนี้ใหม่ โดยใช้เวลา 8 วันในการเจียระไน ให้เป็นรูปทรงรีหรือรูปไข่ น้ำหนัก 108.93 กะรัต มีความแวววาวเป็นพิเศษ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้ทรงประดับเพชรนี้ไว้บนเข็มกลัด (brooch) และทรงระบุไว้ในพระพินัยกรรมให้เพชรโก อิ นัวร์ แก่กษัตริย์ที่เป็นหญิงเท่านั้น ก่อนที่จะนำมาประดับในมงกุฎของ Queen Alexandra และ Queen Mary ล่าสุดในปี ค.ศ.1937 เพชรเม็ดนี้ใช้ประดับอยู่บนมัลทีส ครอส (Maltese Cross) ด้านหน้าของมงกุฎ ที่ใช้ในพิธีราชาภิเษกของ Queen Elizabeth ปัจจุบัน เก็บรักษาอยู่ ณ หอคอยแห่งลอนดอน ร่วมกับมงกุฎอื่นๆ

โดย แหวนเพชร

The Star of Sierra Leone




เพชรที่ใหญ่รองลงมาเป็นอันดับที่ 3 ด้วยน้ำหนักเพชรดิบ 969.80 กะรัต ถูกค้นพบในวันวาเลนไทน์ เมื่อปี ค.ศ.1972 ที่เหมือง Diminco ในประเทศ Sierra Leone นาย Harry Winston ได้ซื้อเพชรเม็ดนี้ไปดำเนินการตัดแบ่ง ออกได้เป็น 17 ชิ้น และได้นำไปใช้ประดับ Star of Sierra Leone Brooch 6 เม็ดด้วยกัน

โดย แหวนเพชร

Taylor-Burton

เพชรรูปทรงหยดน้ำ อีกเม็ดหนึ่ง ที่โด่งดังในสมัยหลัง ได้ถูกส่งเข้าประมูลในปีค.ศ.1969 มานี่เอง โดยมี Cartier of New York ประมูลได้ไป และตั้งชื่อให้มันทันทีว่า “Cartier” แต่เพียงวันเดียวหลังจากนั้น ดาราหนุ่มรูปหล่อ Richard Burton ก็ได้ซื้อมันต่อ เพื่อมอบให้แก่ Elizabeth Taylor ดาราสาวนัยน์ตาคม ด้วยราคาที่ไม่เปิดเผย และตั้งชื่อให้มันใหม่ทันทีเช่นกันว่า “Taylor-Burton” เพชรเม็ดนี้ มีน้ำหนัก 69.42 กะรัต ถูก Elizabeth Taylor นำไปประดับเป็น pendant แต่ใส่อยู่ได้ไม่กี่ปี เธอก็ประกาศขายเพชรเม็ดนี้ เพื่อจะนำรายได้ส่วนหนึ่ง ไปสร้างโรงพยาบาลในอาฟริกา ในปีค.ศ.1978 ผู้ที่ต้องการชม จะต้องจ่ายเงินถึง $ 2,500 เพื่อตรวจสอบมันก่อนตัดสินใจซื้อ จนปีค.ศ.1979 จึงขายไปได้ในราคา 2.8 ล้านเหรียญ โดยเศรษฐีน้ำมันชาว Saudi Arabia

โดย แหวนเพชร